อีกไม่นาน ทางจักรยานยาวที่สุดในเอเชีย ปั่นเชื่อม 5 จังหวัดจาก
ปทุมฯถึงชัยนาท ก็น่าจะแล้วเสร็จ โดยจุดเริ่มต้นที่ศูนย์บริการการกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต จ.ปทุมธานี มุ่งหน้าทางหลวงหมายเลข 3214 (เส้นทางข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ผ่าน พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สิ้นสุดที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
(ภาพจาก www.prachachat.net/)
แนวเส้นทางโดยประมาณ
จากภาพแผนที่ข้างต้น เราเลยพลอตแนวเส้นทางใน google map (คลิก >> ที่นี่ เพื่อดูแผนที่ขนาดใหญ่) เพื่อความชัดเจนมากขึ้น (แผนที่เป็นแนวโดยประมาณเท่านั้นนะครับ
ไม่อาจนำไปอ้างอิงใดๆ ได้นะครับ) จากข่าวที่มีการสำรวจเส้นทาง ปัจจุบันแนวเส้นทางมีการขยับเส้นทางบางจุด ไปใช้แนวของถนนชลประทานเพื่อก่อสร้างทางจักรยาน ทั้งนี้ทางจักรยานนี้ รูปแบบทางจักรยาน จะแยกช่องทางจักรยานกับถนนอย่างชัดเจน เบื้องต้น สันนิษฐานว่าน่าจะเหมือนกับทางจักรยานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างจากอำเภอเมืองชัยนาท ไปอำเภอมโนรมย์
(หมายเหตุ; ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ)
เบื้องต้นหากมีข้อมูลอื่นๆ
เกี่ยวกับโครงการนี้เราจะมาอัพเดทให้ทราบกันต่อไปนะครับ
ที่มาของข้อมูล
- http://www.dailynews.co.th/economic/382973
- http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437887761#
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
***** ความคืบหน้าโครงการ
"โครงการทางจักรยานเชื่อม 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ระยะทาง 184 กม. ผลศึกษาความเหมาะสมโครงการแล้วเสร็จ พบว่าใช้เงินลงทุนร่วม 2,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยกิโลเมตรละ 20 ล้านบาท เนื่องจากบางช่วงเป็นถนนชลประทาน ต้องสร้างแนวคันขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ประเมินแล้วเป็นโครงการใช้เงินลงทุนสูง และไม่คุ้มค่า ซึ่งโครงการต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดันถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวของประเทศ"
ที่มาของข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
***** ความคืบหน้าโครงการ
"โครงการทางจักรยานเชื่อม 5 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท ระยะทาง 184 กม. ผลศึกษาความเหมาะสมโครงการแล้วเสร็จ พบว่าใช้เงินลงทุนร่วม 2,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยกิโลเมตรละ 20 ล้านบาท เนื่องจากบางช่วงเป็นถนนชลประทาน ต้องสร้างแนวคันขึ้นมาใหม่
ทั้งนี้ประเมินแล้วเป็นโครงการใช้เงินลงทุนสูง และไม่คุ้มค่า ซึ่งโครงการต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดันถึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวของประเทศ"
ที่มาของข้อมูล : ประชาชาติธุรกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แสดงความคิดเห็น